วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โรคจากการติดเชื้อ Salmonella spp.

โรคจากการติดเชื้อ Salmonella spp.
เขียนโดย มณฑล สุกใส   
วันอาทิตย์ที่ 06 มิถุนายน 2010 เวลา 23:03 น.
ผมเชื่อว่า ถ้าให้แต่ละคนลองช่วยกันนึกชื่อของเชื้อแบคทีเรีย ที่มีความอันตรายและเกี่ยวข้องกับอาหารมาสัก5รายชื่อ
ผมเชื่อว่าเชื้ออย่าง Salmonella spp. ก็น่าจะติดอยู่ใน 5 รายชื่อแรกในแทบทุกความคิดเห็น ในสายงานที่เกี่ยวกับอาหาร
ไม่ว่าจะต้นทางหรือปลายทางของการผลิตไม่ว่าจะคนที่มาจากวิทยาศาสตร์การอาหาร, สัตวบาล และจุลชีววิทยา
หลายๆสถาบันทางอาจารย์ผู้สอนก็คงจะมีการพร่ำสอนให้ระมัดระวังอันตราย และรู้จักป้องกันตนจากเชื้อชนิดนี้
กันเป็นอย่างยิ่งยวด ทีนี้เรามาดูข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของเชื้อชนิดนี้กันบ้างนะครับ...
Salmonella spp
Salmonella spp. เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างแบบท่อน ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ด้วยแฟลกเจลลายกเว้นอยู่สายพันธุ์คือ
 S. gallinarum และ S. pullorum โดยรยางค์สำหรับเคลื่อนที่จะเป็นแบบ peritrichous เชื้อชนิดนี้ไม่สร้างสปอร์
และเป็นญาติสนิทกับ Escherichia spp.อีกด้วย สภาวะที่ Salmonella ชอบและเจริญเติบโตได้ดีคือ อุณหภูมิ 37oC
และภายใต้สภาวะ Facultative anaerobes อันเป็นสภาวะเดียวกับในลำไส้ใหญ่ของร่างกายมนุษย์
Salmonella spp สามารถสังเคราะห์ไฮโดรเจนซัลไฟด์ได้จากกระบวนการ Chemoorganotrophic
ดังนั้นในการตรวจจับการปนเปื้อนของเชื้อชนิดนี้ เราจึงสามารถตรวจหาตะกอนเฟอรัสซัลไฟด์
โดยใช้อาหารเลี้ยงเชื้อที่มีแหล่งอาหารที่เป็นกำมะถันเช่นมี ซิสเตอีน (Cysteine) บ่มที่อุณหภูมิ 37oC
เพื่อดูการปนเปื้อนเบื้องต้นของเชื้อกลุ่มที่มีความสามารถสร้าง "ไฮโดรเจนซัลไฟด์"
โดยหนึ่งในเชื้อที่มีความสามารถในการสร้างก็คือ Salmonella spp.

แหล่งปนเปื้อนของเชื้อ

เราสามารถพบเชื้อชนิดนี้ได้ตามแหล่งปศุสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสุกร และสัตว์ปีก เป็นดัชนีบ่งบอกถึงสุขอนามัยพื้นฐาน
ของโรงเลี้ยงได้ดี ยิ่งสกปรกเชื้อชนิดนี้ก็จะเจริญ เนื่องจากวงจรการเจริญของเชื้อไปๆมาๆกับมูลสัตว์ และระบบทางเดินอาหาร
 หากว่าโรงเรือนไหนมีระบบจัดการของเสีย และระบบระบายอากาศไม่ดีพอ ก็จะเกิดการปนเปื้อนซ้ำไปซ้ำมาเป็นวงจรเรื่อยไป
เคยมีรายข่าวการระบาดของเชื้อเป็นชนิดนี้บนเปลือกไข่ เช่น S. enteritidis
ซึ่งสันนิษฐานกันว่า มันเกิดขึ้นเนื่องจากไข่ได้มีเชื้อดังกล่าวตั้งแต่ยังอยู่ในท้องแม่ไก่แล้ว เชื้อจะไปเกาะในไข่แดง
ดังนั้นเด็กหอที่ชอบต้มไข่พร้อมๆกับหุงข้าวในหม้อหุงข้าว ก็อาจจะมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายเพิ่มด้วยนะครับdevil

นายพล Periclesในสมัยอดีตยุคที่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการจัดการทางสาธารณสุข ยังไม่ก้าวหน้าแบบในปัจจุบัน
แหล่งน้ำกินน้ำใช้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์จุลินทรีย์ก่อโรคหลายชนิด รวมไปทั้ง Salmonella spp. ด้วย
 kissได้มีการบันทึกไว้ว่าในอดีตยุคก่อนคริสตกาล (430–424 BC) ประชากรในเอเธนส์ล้มหายตายจาก
ด้วยอาการของไทฟอยด์ลงไปถึงหนึ่งในสามของทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับผลการตรวจรหัสDNA
ของเชื้อแบคทีเรีย ที่พบในฟันจากศพที่ขุดขึ้นมาจากการฝังรวม ที่มีการประเมินว่าศพทั้งหมดได้ตาย
ในช่วงดังกล่าว ในภาวะสงครามแย่งชิงพื้นที่ระหว่างกรีก และสปาร์ต้า ที่ใช้เวลารบกันนานปี
จึงมีศพทหารจำนวนมากอันเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ชั้นดีของจุลินทรีย์ก่อโรค
นอกจากชาวเมืองทั่วไปล้มตายลง Salmonella spp ยังได้คร่าชีวิตผู้นำทางการทหารของชาวกรีก
อย่าง Pericles ด้วย รบชนะมาทุกสนามแต่กลับต้องมาตายเพราะเชื้อโรคตัวเล็กๆ
จากการตายของผู้นำจึงทำให้ยุคนั้นกรีกถึงกับระส่ำระสายไร้ผู้นำ จึงถูกฝ่ายตรงข้ามคือ พวกสปาร์ต้าเข้ายึดอย่างง่ายดาย
จึงสิ้นสุดยุคทองของ Pericles และของกรีกด้วยเช่นกัน  จะเห็นตัวอย่างนะครับว่าในอดีตที่ผ่านมา
ก็เคยมีการเสียบ้านเสียเมืองเพราะโรคภัยที่ติดมากับเชื้อ Salmonella spp นี้ด้วย
การปนเปื้อนของ Salmonella จากน้ำดื่ม
ถึงแม้ว่าเราจะพบเชื้อชนิดนี้ในอุจจาระของมนุษย์ และสัตว์เลี้ยง เช่นเดียวกับบรรดา E.coli ญาติสนิทของมัน
หลายคนก็คงจะงงว่าในเมื่อมันเป็นเชื้อที่มีอันตรายต่อร่างกาย แล้วทำไมเราถึงไม่รู้สึกเจ็บไข้ได้ป่วย
นั่นก็เพราะว่าอาการเจ็บไข้เนื่องจาก Salmonella spp จะเป็นในแบบ Food infection นั่นเองจ๊ะlaugh
Daniel Salmanโดยในร่างกายคนปกติจะต้องมีเชื้อเป็นในร่างกายเราจำนวนไม่น้อยไปกว่า 106 CFU
จึงจะก่อให้เกิดอาการเจ็บไข้ และในจำนวนน้อยกว่านั้นสำหรับผู้ีที่มีภูมิต้านทานต่ำ
และสำหรับที่มาของชื่อ Salmonella ก็มีที่มาจากชื่อของสัตวแพทย์ผู้อุทิศตน
ให้กับวงการระบาดวิทยานามว่า Daniel Elmer Salman คนในรูปทางซ้ายมือ
ถึงแม้ว่าผู้ที่สามารถแยกเชื้อชนิดนี้ได้เป็นคนแรกคือ Theobald Smith โดยที่ Salman
ขณะนั้นเป็นลูกมือให้กับ Theobald Smith ก็ตาม ซึ่งชื่อของเชื้อก็ไม่มีความเกี่ยวข้องกับปลาแซลมอน
แต่อย่างใดตามที่หลายคนอาจจะคาดเดาไว้เลยlaugh

อาการและการวินิจฉัยโรค

ถ้าเราแยกประเภทของโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจาก Salmonella spp. เราจะแบ่งแยกได้เป็น 3 ประเภทด้วยกัน

1 Salmonellosis

ผู้ได้รับเชื้อจะมีอาการทางระบบทางเดินอาหารได้แก่ ท้องร่วง, อาเจียน, ปวดเกร็งที่บริเวณหน้าท้อง, มีไข้
โดยอาการจะเกิดขึ้นจากร่างกายรับเชื้อที่มากพอภายในเวลา 8-72ชั่วโมง ซึ่งการที่ระยะเวลาในการเกิดอาการค่อนข้างกว้าง
นั้นก็เพราะ อาการของโรคนี้จะเป็นในลักษณะ Food Infection เชื้อจะต้องมากพอจึงจะทำให้เกิดอาการของโรค
แล้วร่างกายจึงจะเกิดกลไกในการขจัดเชื้อดังกล่าวทิ้งด้วยการขับถ่าย, อาเจียน และโดยทั่วไปแล้วในคนที่แข็งแรง
มีภูมิต้านทานปกติ และไม่ได้รับเชื้อเพิ่ม ก็จะหายเองได้ภายในเวลา1สัปดาห์
แต่อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยที่ขับถ่ายติดต่อกัน มีอาการท้องร่วงรุนแรง ก็ควรที่จะนำส่งโรงพยาบาล
เพื่อทำการรักษาตามขั้นตอนต่อไป

2 ไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย

เชื้อที่เป็นสาเหตุในลำดับต้นๆที่ทำให้เกิดอาการไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อยคือ S.typhi นั่นเอง
ตัวรองลงมาก็คือ S.typhimarium ซึ่งในสมัยเด็กๆตอนประถม เราจะเรียนกันมาว่า แมลงสาปเป็นพาหะของโรคชนิดนี้
ซึ่งมันก็ถูกต้องส่วนหนึ่งเพราะว่าแมลงสาปเป็นสัตว์กินซากพืชและซากสัตว์ในระบบนิเวศ
ซึ่งในซากพืชซากสัตว์ก็จะอุดมไปด้วยจุิลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคหลายชนิด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ Salmonella spp.
ตัวที่เราพูดถึงกันอยู่ด้วยนะ cheeky
อาการไอแห้ง หนึ่งในอาการไข้ไทฟอยด์
อาการของไทฟอยด์จะรุนแรงกว่า Salmonellosis มาก ผู้ป่วยไทฟอยด์เริ่มแรกจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
ไอแห้งร่วมด้วย และพบอาการท้องผูกในผู้ใหญ่มากกว่าท้องร่วง อาการบ่งชี้ได้ดีได้แก่ หัวใจเต้นช้า ม้ามโต
มีผื่นดอกกุหลาบขึ้นตามผิวหนังภายนอก นอกจากนี้ในรายที่เป็นหนักๆ จะมีแผลในลำไส้
เนื่องจากการดูดซึมของเหลวภายในผิดปกติ และอาจทำให้เกิดเลือดออกในลำไส้ รวมถึงลำไส้ทะลุด้วย
อาหารเป็นพิษไทฟอยด์จะมีอาการ 4 ระยะ ในผู้ป่วยที่ไม่ได้รักษา ปล่อยให้อาการถึงระยะ 3-4
จะมีอาการทางระบบการได้ยิน มีไข้แต่ไม่มีเหงื่อ และระบบตอบสนองต่อสิ่งเร้าลดลง
และอาจมีการอักเสบของต่อมพาโรติด นอกจากนั้นยังพบว่าในผู้ป่วยที่เสียชีวิต
เนื่องจากไทฟอยด์ จะมีอาการเนื้อสมองอักเสบร่วมด้วย
enlightenedสำหรับอัตราการเสียชีวิตเนื่องจากไทฟอยด์จะอยู่ที่ิ 10% นั่นก็แปลว่า
ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานปกติ และไม่ได้รับเชื้อเพิ่มเติมก็มีโอกาสหายเองได้
เหมือนกัน แต่ถ้าทำการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ อัตราการเสียชีวิตจะลดลงเหลือ
ต่ำกว่า 1%
สำหรับจุลินทรีย์แกรมลบ เฉกเช่น Salmonella spp แล้ว การใช้ยาปฏิชีวนะให้ผล
ในการบำบัดได้ผลดี ยากลุ่มเพนนิซิลิน (ampicillin), คลอแรมเฟนิคอล (chloramphenicol)
อะมอกซิลิน ( amoxicillin), ไซโปรฟอกซิน (ciprofloxacin), และ ไตรเมทอกไพรม์-ซัลฟาเมทอกโซล (trimethoprim-sulfamethoxazole)
จะเป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาในประเทศกำลังพัฒนา enlightenedแต่ในระยะหลังก็มีรายงานว่าเชื้อดื้อยามากขึ้นเรื่อยๆ
ทำให้การรักษาด้วยการใช้ยานั้นจะต้องทำด้วยความระมัดระวังมากขึ้น ส่วนในประเทศพัฒนาแล้วจะใช้ยาที่มีราคาสูงกว่า
อย่าง Mucomelt-Forte ซึ่งเตรียมจาก Cefixime และ Acetylcysteine

3 อาการพาราไทฟอยด์

สำหรับเชื้อแบคทีเรียที่เป็นตัวการให้เกิดอาการพาราไทฟอยด์ ตัวหลักๆคือ S.paratyphi ซึ่งประกอบสามสายพันธุ์ย่อยได้แก่
Salmonella paratyphi AS. paratyphi B (หรือ S. schottmuelleri) และ S. paratyphi C (S. hirschfeldii)
สำหรับตัวที่พบในประเทศไทยจะเป็นตัวหลังสุดนี้
สำหรับความหมายของคำว่า para ในภาษาละตินก็คือ ใกล้ๆ ดังนั้นพาราไทฟอยด์ จึงแปลว่าใกล้ๆกับไทฟอยด์
อาการโดยทั่วไปของพาราไทฟอยด์จึงใกล้เคียงกับไทฟอยด์ตามชื่อที่ได้รับ เพียงแต่ว่าความรุนแรงของพาราไทฟอยด์จะน้อยกว่า
รวมทั้งอัตราการตายน้อยกว่ามากsmiley
สำหรับผู้ที่ทราบว่าตัวเองเกิดอาหารเป็นพิษเนื่องจากเชื้อชนิดนี้ การรับประทานยาพวก Lomitil เป็นสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ
เพราะเป็นการแก้ไขไม่ถูกจุด เป็นการขัดขวางกลไกในการกำจัดของเสียทางร่างกายด้วยวิธีขับถ่าย ทางด้านองค์การอนามัยโลก
ได้ประกาศมาว่ามีชาวโลกมีอาการเจ็บไข้อาหารเป็นพิษเนื่องจากเชื้อ Salmonella spp. ตกปีละ 16ล้านคน
และมีรายงานผู้เสียชีวิตราวๆ 25,000รายต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่ของผู้เสียชีวิตทั้งหมดนี้จะอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา

การป้องกัน

การดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคลที่ดี เช่นการล้างมือเป็นกิจวัตร จะีเป็นการป้องกันการปนเปื้อนจุลินทรีย์ชนิดนี้ได้ดี
เนื่องจากพวกแบคทีเรียแกรมลบจะไม่ค่อยถูกกับบรรดาดีเทอร์เจนต์ต่างๆเท่าไรนัก ส่วนหนึ่งมาจากการผนังเซลล์มีลิปิดสะสมมาก
และชั้นบางกว่าแกรมบวกอีกต่างหาก จึงเสริมฤทธิ์การทำงานของดีเทอร์เจนต์ให้ได้ผลดีขึ้น แล้วนอกจากนั้นเชื้อ Salmonella spp.
ก็ถูกทำลายลงได้ในระดับความร้อนพาสเจอไรซ์ ดังนั้นเราควรที่จะรับประทานอาหารที่ผ่านการต้มสุก หรือแปรรูป
แทนที่จะบริโภคสุกๆดิบๆซึ่งเสี่ยงต่อโรคทางอาหารต่างๆอีกเพียบ
การล้างมือ
สำหรับน้ำดื่มนั้นเราควรจะบริโภคน้ำจากแหล่งน้ำที่สะอาดมาจากแหล่งที่มีความเชื่อมั่นว่าปลอดภัย หรือนำไปต้มก่อนดื่ม
รวมทั้งน้ำแข็งที่ใช้สัมผัสกับอาหารก็ควรจะมาจากแหล่งน้ำที่มีความสะอาดปลอดเชื้อ
สำหรับการฉีดวัคซีน ก็เป็นวิธีที่ใช้ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อชนิดนี้อีกวิธี โดยทั่วไปแล้วไม่จำเป็นที่จะต้องฉีดให้กับทุกคน
ทางปฏิบัตินั้นเราจะฉีดให้กับผู้เสี่ยงที่อยู่ในเขตโรคระบาด หรือเดินทางมาจากแหล่งที่เกิดโรคระบาด
สำหรับสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติจากธรรมชาตินั้น ในอดีตที่ผ่านมาการสะสมของซากศพและของเสียก็เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อ
ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่ประชากรในเขตดังกล่าวจะได้้รับเชื้อชนิดนี้ ดังนั้นสำหรับภาครัฐแล้ว การจัดหาน้ำดื่ม จัดสเบียงอาหาร
รวมไปทั้งระบบดูแลจัดการของเสียและรวมไปถึงซากศพจะต้องเร็ว และถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล


Read more: โรคจากการติดเชื้อ Salmonella spp.| Food science, food industrial technology On Blog http://www.thaifoodscience.com